๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓ วันนี้เมื่อ 66 ปีที่แล้ว ๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓

เนื้อความ : การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 มักถูกวิจารณ์ไปต่างๆ นานา คำวิจารณ์
ที่ดูดีและมีประเด็นมากที่สุดคือคำวิจารณ์ว่า "คณะราษฎรใจเร็วด่วนได้เกินไป ทั้งๆ ที่กำลัง
จะมีการพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว" คนที่เชื่ออย่่างนี้มักพูดต่อไปว่า ปัญหาของบ้านเรา
คือประชาธิปไตยเป็นของนำเข้ามาในสังคมที่ราษฎรยังไม่มีความพร้อม

ปัญหาขอคนพูดอย่างนี้มีสองประการ ประการแรกคือเคยได้อ่านรัฐธรรมนูญฉบับที่ so called
ว่าจะพระราชทานหรือไม่ ประการที่สองคือเข้าใจบริบทของการเปลี่ยนแปลงเวลานั้นเพียงใด

ขอกล่าวถึงปัญหาแรกก่อน ไม่ว่าจะมองในมุมไหน รัฐธรรมนูญฉบับนั้นไม่เป็นประชาธิปไตยทั้งสิ้น
ไม่มีการเลือกตั้ง รัฐสภาอยู่ภายใต้การควบคุมของสถาบัน ต้นแบบของร่างรัฐธรรมนูญฉบับน้ั้น
มาจากรัฐธรรมนูญที่ฮอลแลนด์ใช้ปกครองชาวอาณานิคมในอินโดฯ และคนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น
ก็คือคนร่างรัฐธรรมนูญให้ฮอลแลนด์และอังกฤษปกครองเมืองขึ้นมาก่อน แล้วจะเป็นรัฐธรรมนูญ
ประชาธิปไตยไปได้อย่างไร

เข้าสู่ปัญหาที่สอง การเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นท่ามกลางความไม่พอใจที่คนชั้นกลาง
ในเมืองหลวง พ่อค้า นายทหาร ปัญญาชน นักหนังสือพิมพ์ มีต่อระบบอภิสิทธฺิชนเวลานั้น
ความพยายามผลักดันให้ระบบอภิสิทธิปรับตัวประสบความล้มเหลว และระบบอภิสิทธิขณะนั้น
ก็ไม่มีประสิทธิภาพพอจะแก้ไขปัญหาที่สังคมเวลานั้นเผชิญอยู่ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การ
เปลี่ยนแปลงการปกครองจึงเป็นเรื่องจำเป็นทางประวัติศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้่

ขอหยุดเขียนแค่นี้เพื่อไม่ให้ยืดยาวเกินไป ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงความคิดคร่าวๆ ที่เขียน
อย่างรวบรัดเพราะความจำกัดของพื้นที่ แต่หัวใจของข้อเสนอคือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ของคณะราษฎรเป็นเรื่องถูกต้อง และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเงื่อนไขของสังคมไทยในเวลานั้น

จากคุณ : เอ้ - [24 มิ.ย. 2541 17:03:36]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : ...อื่มม์ ครับ ตาลายเยย แต่เมื่อวันนี้ หนึ่งเดือนที่แบ้ว .. ผมตาตังจ่ายค่าเช่าห้อง ค่าอินเทอร์เน็ตรายเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบัตรเครติด ฯลฯ สาระพัด เฮ้อ .. ประดังมาหมดเยย อิ อิ
โดยคุณ : หลี่ถัง - [24 มิ.ย. 2541 17:17:20]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : Happy Birthday คะ คุณเอ้ !!! .....:)
โดยคุณ : นางในนิยาย - [24 มิ.ย. 2541 17:26:07]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : เอ....ผมสงสัยเรื่อง กบฎบวรเดช เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2476
นำโดยพระองค์เจ้าบวรเดช (ทำนองนี้อ่ะนะ)
เกิดหลังการเปลี่ยนแปลงหนึ่งปี
ทำไมถึงเรียกว่ากบฎล่ะ

ถ้างั้น คณะราษฎร์ ก็เป็นกบฎเหมือนกัน
(เพียงแต่ชนะ)
ใช่ป่าววววว
โดยคุณ : Num.. - [24 มิ.ย. 2541 18:33:14]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : In Thailand,history's written by(so called)"group of people who benefit by that events".As you can see that later on we discovered some of our history's not exactly true!!!
Forget about 66 years ago.We didn't have a real democracy after that.The power belonged to groups after groups of so called คณะราษฎร์ .
14 of October is the day that we've started to have a real democracy.
Don't you agree!!!
โดยคุณ : Oldman - [24 มิ.ย. 2541 23:18:53]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : จจิงหรือครับที่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ๖๖ปีที่แล้ว เกิดจาก
การที่"คนชั้นกลาง"ไม่พอใจและลุกขึ้นเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ผมว่าเป็นเรื่องของผู้ชั้นบนของสังคมที่ไม่ใช่เจ้าอยากเปลี่ยนแปลง
เสียมากกว่าโดยที่ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมน้อยมาก และมีส่วนร่วม
น้อยมากต่อมาอีกหลายๆปี พูดกันจริงๆแล้วก็คือการถ่ายโอนอำนาจ
ของเจ้ามาสู่ขุนศึกทหารเท่านั้น ผมยังให้ความสำคัญกับ ๑๔ ตุลา
๖ ตุลา และพฤษภาทมิฬมากกว่าเสียอีก
โดยคุณ : ข้าวเกรียบว่าว - [25 มิ.ย. 2541 07:10:40]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : แต่ผมยังสงสัยเหมือนกันว่าถ้ารออีกหน่อย นี่ประชาธิปไตยจะออกมาแบบไหนว่า แน่ใจหรือว่ามันจะพ้นจาก ระบบนายทุนขุนนาง ปัญหามันเริ่มมาตั้งแต่การจะปรับเปลี่ยนประเทศเป็นทุนนิยมที่เกิดก่อนหน้านี้หรือไม่ แต่ก็ยอมรับว่าคณะราษฎร์ยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ บางคนบอกว่าเป็นการปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ์ด้านมิติทางด้านเศรษฐกิจไป เกิดอุบัติเหตุบางอย่างทางประวัติศาสตร์ช่วงนั้นหรือเปล่า เรามองการเมืองแบบโดด ๆ เกินไปหรือไม่สำหรับกรณีนี้
โดยคุณ : นิสัยทัศน์ - [25 มิ.ย. 2541 17:20:42]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : ว้าว...เรื่องนี้อยู่ที่มุมมอง และผู้เขียนประวัติศาสตร์จริงๆ..
ในเมืองไทย เรื่องพวกนี้คือเรื่องลึกลับคนธรรมดามิบังอาจแตะหรอก
...แม้แต่ตำราเรียน ยังทำการปลูกฝังเรื่องนี้มาตั้งกะเด็กๆเลย
แม้แต่ตอนนี้ เหตุผลที่แท้จริงในการรัฐประหารครั้งนั้นก็ยังไม่ชัดเจน
แต่ในมุมมองของผู้ด้อยโอกาสอย่างผม..อยากจะมองว่า การรัฐประหาร
ครั้งนั้น เจตนาครั้งแรกก็คงจะทำการยึดอำนาจเพื่อที่จะปลดแอกจาก
ระบบศักดินาเจ้า...แต่ทำไปทำมากลายเป็นศักดินาขุนศึก..คือ ขึ้นมาครอง
อำนาจเรียบร้อยแล้วเกิดติดใจในการมีอำนาจ ไม่อยากสูญเสียอำนาจนั้นไป
ถ้าสามารถ เกลี่ยอำนาจนั้นได้สมดุลย์ คุณก็จะอยู่ยาว...แต่ถ้าคุณทำแล้ว
ไม่ถูกใจ ของกลุ่มอำนาจ คุณก็จะตกกระป๋องเร็ว..
...อือออ...เขียนไปเขียนมาชักงงแล้วแฮะ...ขอสรุปดีกว่า การจะเปลี่ยนแปลง
อะไรก็ตาม ถ้าหากปล่อยให้มันค่อยๆพัฒนา มันน่าจะยั่งยืนกว่าการเปลี่ยนแปลง
แบบปัจจุบันทันด่วน..
...ยิ่งงงใหญ่เลยแฮะ..เพราะนั่งฟังบรรยาย พิเศษ ของ อ.อัมมาร์ อ.ประเวศ และ เลขา
สภาพัฒน์อยู่พอดี...
เอาไว้จะเรียบเรียงมาใหม่ล่ะกัน..ฮ่าๆๆๆ ขอบคุณที่ทนอ่าน
โดยคุณ : ชักงงแล้วแฮะ - [26 มิ.ย. 2541 10:08:26]


ชื่อ/email ของคุณ :
รายละเอียด :