?????จากพอลพตถึงติมอร์ตะวันออก จากติมอร์ตะวันออกถึง SLORC และคำถามถึงนโยบายต่างประเทศของไทย ??????????

เนื้อความ : เห็นบทบาทของรัฐมนตรีต่างประะเทศของไทยแล้วค่อนข้างสับสน ในกรณีพอลพตนั้น รัฐมนตรีไทย
แสดงท่าทีขึงขัง บอกว่าพร้อมจะให้ความร่วมมือในการนำผู้นำเขมรแดงที่มีความผิดในการสัง
หารหมู่มาลงโทษ แต่ในเรื่องอื่นๆ ที่เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุเหมือนๆ กัน ไม่เห็นรัฐมนตรีต่างประ
เทศของไทยคนนี้ (รวมถึงอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศและข้าราชการประจำในกระทรวงนี้) แสดงบทบาท
ห้าวหาญอะไรอย่างนี้เลย ดูอย่างเริื่องติมอร์ตะวันออกก็ได้ ทั้งสหประชาชาติ สหรัฐ ออสเตรเลีย
และประเทศอื่นๆ ยอมรับกันหมดแล้วว่ารัฐบาลอินโดนีเซียทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุในติมอร์ตะวันออก
จริง เหมือนกับที่เขมรแดงทำกับประชาชนเขมร แต่ทำไมกระทรวงต่างประเทศของไทยไม่เห็นมี
รีแอ๊คชั่นอะไรบ้างเลยล่ะ เห็นมีแต่คอยสั่งห้ามไม่ให้คนวิจารณ์ปัญหาติมอร์ ใครจัดประชุมเรื่องนี้
ก็ส่งสันติบาลไปตามประกบ รวมทั้งเรื่องที่ SLORC ทำกับชาวกะเหรี่ยงในเขตท่อก๊าซไทยพม่าด้วย
ชวนให้สงสัยว่านโยบายต่างประเทศของเรา serious กับประเด็นมนุษยธรรมอย่างนี้แค่ไหน
หรือมีแต่พูดอะไรตามกระแสไปเรื่อย
จากคุณ : สื่อมวลชน - [29 เม.ย. 2541 19:55:36]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : คุณสื่อมวลชน คงต้องทำความเข้าใจเรื่องหนึ่งว่า อินโดนีเซียนั้นเป็นสมาชิกอาเซียน พม่าเองก็มีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนเช่นกัน หากในวันนี้ ไทยประกาศแข็งกร้าวต่อการกระทำของพม่า และ อินโดนีเซีย ย่อมไม่ส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ภายในกลุ่มอาเซียน และจะไม่มีทางทำให้อะไรดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาชายแดนไทยกับพม่า จะยิ่งทวีความรุนแรงในขณะที่ไทยเองก็ไม่พร้อมที่จะรับมือ สหรัฐและออสเตรเลีย ทำได้แน่นอน ส่วนสหประชาชาตินั้นเป็นหน้าที่อยู่แล้วที่จะต้องดำเนินการในเรื่องนี้ อย่าลืมว่า ไทยมีการค้าระหว่างประเทศกับอินโดนีเซียรวมทั้งพม่าด้วย ซึ่งมูลค่าการส่งออกไม่น้อยเลยทีเดียว เราหวังจะให้อาเซียนเป็นปึกแผ่น และให้เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมได้ในปี ค.ศ.2001 ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิก ดร.ลิขิต ธีรเวคินได้เขียนถึงผลดีผลเสียของเรื่องดังกล่าวไว้ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเร็ว ๆ นี้ ผมจำไม่ได้ว่าฉบับไหนเนื่องจากอ่านหลายฉบับ แต่คิดว่าคุณสื่อมวลชนอยู่ในวงการคงพอจะสืบค้นได้ไม่ยากนัก เรื่องนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยอยู่รอดมากกว่า
ตรงข้ามหากเราดำเนินนโยบายต่างประเทศในทางตรงกันข้าม นอกจากจะต้องเผชิญหน้ากับเพื่อนบ้าน แล้ว ยังทำให้ความต้องการของสหรัฐที่จะสกัดกั้นการรวมกลุ่มของอาเซียนให้เป็นปึกแผ่นประสบผลสำเร็จโดยไม่ต้องลงมืออะไรมากอีกด้วย
โดยคุณ : cyberwolf_ - [29 เม.ย. 2541 20:12:49]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : อะ อะ คนไทยนี่แหละตัวดีเห็นแต่ปากท้องตัวเองมากกว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว
พอลพตเนี่ยเราหนุนหลังตั้งแต่สมัยที่เวียตนามยึดกัมพูชาเพื่อเอาเป็นกันชน พอหมดความหมาย
ก็เขี่ยทิ้งเป็นเรื่องธรรมดา เรื่องสลอร์คกะติมอร์ก็เหมือนกัน มันเรื่องไกลตัวในสายตาคนไทย
คุณสื่อมวลชนคิดว่า ถ้ารัฐบาลไทยไปคว่ำบาตรสลอร์คกับรัฐบาลอินโดแล้วทำให้เรามีปัญหาอื่นๆ
ตามมา ประชาชนไทยจะสนับสนุนรัฐบาลอย่างนั้นหรือ ผมไม่เห็นทางเลยว่ามันจะเป็นไปได้
นี่แหละที่ทำให้รัฐบาลไทยในทุกยุคทุกสมัยดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างนี้มาตลอด
อ้อ.... คุณลืมเรื่องดาไลลามะกับธิเบตไปอีกเรื่องได้ไงเนี่ย

ปัญหาอยู่ที่จิตสำนึกของคนไทยครับ ตรงประเด็นที่สุด รัฐบาลนั้นทำตามเสียงประชาชนอยู่แล้ว
สงสัยต้องโดน รสช. ยึดอำนาจอีกรอบแล้วเวลาไปขอให้ต่างชาติช่วยเหลือคงจะรู้สึกละมั้ง
โดยคุณ : โจรพันธุ์เสือ(น้อย) - [29 เม.ย. 2541 20:33:47]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : แต่พูดตรงๆนะ ผมก็เห็นแก่ปากท้องตัวเองเหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่นั่นแหละ
มันเป็นความคิดเห็นที่ไม่ค่อยดีใช่ไหม ใช่แล้วครับคนเราทุกคนมันเห็นแก่ตัวก่อนด้วยกันทั้งนั้น
อันนี้พูดตรงๆแบบแฟร์ๆนะ แต่สิ่งที่คุณสื่อมวลชนพูดเป็นเรื่องที่สมควรจะทำในแง่อุดมคติ
เป็นอย่างยิ่งเลยครับผม โลกเรามันต้องเหลือคนมีความคิดนี้อยู่บ้างละนะ ไม่งั้นเห็นแก่ตัว
กันไปหมดทุกคนละก็แย่เลย
โดยคุณ : โจรพันธุ์เสือ(น้อย) - [29 เม.ย. 2541 20:39:40]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : ประเทศไทยเป็นประเทศอ่อนแอ การดำเนินนโยบาย ต่างประเทศจึงไม่แน่นอน ถือเอาผลประโยชน์ระยะสั้นเป็นสำคัญ
จึงออกมาแบบหาจุดยืนแน่นอนไม่ได้ ตลบแตลง คล้อยไปตามผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย
โดยคุณ : Udom - [29 เม.ย. 2541 21:16:27]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : ผมเห็นตรงข้าม ว่า การดำเนินนโยบายต่างประเทศของเรานั้นค่อยข้างดี และ เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศอย่างมาก ในอดีตเราสามารถรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของลัทธิล่าอาณานิคม ต่อมาสมัยสงครามโลกเราเกือบต้องเป็นผู้แพ้สงคราม แต่เราก็ยังคงพลิกสถานะการณ์ได้ด้วย เสรีไทย ซึ่งในขณะนั้นเราไม่มีทางเลือกที่จะต้องให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น มิฉะนั้นไทยคงเสียหายมากมายหากต้องรบกับญี่ปุ่นแต่ในขณะเดียวกันเราก็มี เสรีไทย ที่ดำเนินการตอบโต้ ญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ เราเป็นผู้ริเริ่ม ให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาเซียน และ นโยบายเขตการค้าเสรีอาเซียนนั้น เราก็เป็นผู้ริเริ่ม ไทยเป็นผู้ชักนำกลุ่มอาเซียนเข้าร่วมกับ APEC นโยบายแปรสนามรบเป็นสนามการค้าอันลือลั่น ก็ริเริ่มโดยไทย สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ หากเราไม่มองในแง่ร้ายเกินไปนักกระทรวงการต่างประเทศของเราค่อนข้างจะมีคุณภาพในระดับหนึ่งมาโดยตลอด มิฉะนั้นเราคงถูกครอบงำโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ไปแล้ว สมัยนั้นหาก มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ไม่ดำเนินการทางการทูตโดยการไปเยือนประเทศจีน เรายังไม่อาจคาดเดาได้ว่าหากจีนให้การสนับสนุนเพื่อให้ พคท.ทำงานอย่างเต็มที่ ภัยจากคอมมิวนิสต์ อาจจะรุนแรง และ หนักหนาเกินกว่าจะแก้ไข การดำเนินนโยบาย 66/23 ในสมัยพลเอกเปรม เป็นตัวอย่างที่ดีอีกประการหนึ่ง ในการจัดการกับคอมมิวนิสต์ด้วยวิธีการทางรัฐศาสตร์และการทูต หากจะเป็นรองผมว่า ในแถบนี้เราเป็นรองสิงคโปร์เท่านั้น และหากจะกล่าวถึงความตลบแตลงในการดำเนินนโยบายต่างประเทศแล้ว ผมเห็นว่า สิงคโปร์เหนือเราอย่างไม่เห็นฝุ่นเลยทีเดียวมิฉะนั้น สำนักงานประสานงาน APEC คงตั้งอยู่ในเมืองไทยแล้ว มิใช่ไปตั้งอยุ่ที่ สิงคโปร์อย่างในปัจจุบัน
โดยคุณ : cyberwolf_ - [29 เม.ย. 2541 21:30:05]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : ไม่จำเป็นเลยครับที่จะต้องแยก "นโยบายต่างประเทศที่เคารพสิทธิมนุษยชน" ออกจาก "นโยบาย
ต่างประเทศเพื่อความอยู่รอด" ทั้งสองอย่างนี้ไปกันได้ครับถ้ามีความพยายามจะทำ ผมคิดว่า
การที่เราไม่วิจารณ์พม่าและไม่วิจารณ์อินโดในการฆ่าหมู่และใช้อำนาจเผด็จการนั้น เป็นการกำหนด
นโยบายต่างประเทศด้วยจิตสำนึกที่ไม่เป็นผู้นำมากกว่า ไม่่จริงเลยครับที่บอกว่าคบพม่าแล้วจะทำให้
สถานการณ์ด้านตะวันตกของเราดีขึ้น เกิดการปะทะระหว่างกองกำลังไม่ระบุสัญชาติกับกองกำลัง
ไทยตามแนวชายแดนมากขึันเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน กองทัพพม่าก็กำลังสะสมแสนยานุภาพทางทหาร
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน อาวุธหนัก กำลังพล ฯลฯ มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ตรงไหนครับที่บอกว่าคบพม่า
แล้วไทยจะได้ประโยชน์ เพราะเวลาคุณคบกับพม่านั้น คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่านโยบายที่แน่นอน
ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคงในภูมิภาคคืออะไร อินโดนีเซียก็เช่นเดียวกันนะครับ
การสะสมอาวุธในอินโดนีเซียมีสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันนี้จนน่าตกใจ และผมก็มองไม่
เห็นว่าการพูดไพเราะเสนาะหูกับรัฐบาลซูฮาร์โต จะทำให้ซูฮาร์โตชะลอการสะสมอาวุธได้อย่างไรด้วย

เข้าเรื่องอาเซียนบ้างนะครับ กำเนิดของอาเซียนมีความใกล้ชิดกับอเมริกามาตั้งแต่ต้นแล้วนะครับ
นี่ไม่ใช่เรื่องความเห็นแต่เป็นข้อเท็จจริง อาเซียนซึ่งมีที่มาจากซีโต้นั้นเป็นองค์กรที่สหรัฐใช้เพื่อ
ต่อต้านการขยายตัวของอิทธิพลโซเวียตและจีนในภูมิภาคนี้ ช่องว่างระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ
เพิ่งจะมาเกิดเมื่อสหรัฐแสดงท่าทีถอนตัวจากภูมิภาคนี้ในช่วงที่สงครามเย็นยุติลงเองครับ แต่ใน
สถานการณ์ปัจจุบันที่อาเซียนเริ่มเกิดความไม่ไว้วางใจกันเองในกรณีต่างๆ ไ่ม่ว่าจะเป็นการสะสมอาวุธ
อิทธิพลของจีนในภูมิภาค ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาหมู่เกาะสแปรตลี ฯลฯ จึงเกิดแนวโน้ม
ที่หลายประเทศในอาเซียนเริ่มพยายามดึงสหรัฐให้เข้ามามีบทบาทรักษาความมั่นคงในภูมิภาคนี้ใหม่

ผมเป็นพวกไม่เชื่อทฤษฎีมหาเธร์ที่บอกว่าสหรัฐจะคุมอาเซียน และวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งหมด
ที่เกิดขึ้นในอาเซียนเป็นผลจากการวางแผนการของสหรัฐครับ ผมคิดว่าทฤษฎีนี้พยายามปฏิเสธ
ความล้มเหลวและความผิดพลาดที่มีอยู่ในทิศทางการพัฒนาและโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมือง
ของอาเซียนเอง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแบบฟองสบู่ ธุรกิจเก็งกำไร ระบบอุปถัมภ์ในกลุ่มชนชั้นสูง
ความไม่โปร่งใสของสถาบันการเงิน ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ต่างหากครับที่ทำให้อาเซียนพัง ปัญหาที่มา
จากในตัวอาเซียนเองมากกว่าจะมาจากภายนอก

ผมไม่คิดว่านโยบายต่างประเทศของไทยจะได้รับการยอมรับนะครับ อย่างมากที่สุดที่เราได้ใน
สายตาประชาคมโลกคือ "เฉยๆ" กับนโยบายต่างประเทศของเราต่างหาก เพราะเราเป็นประเทศ
ที่ไม่มีบทบาทในเวทีโลก ผมไม่ได้พูดถึง "ความตลบแตลง" ของสิงคโปร์ เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศ
ที่ไม่เคยประกาศนโยบายประเภทสิทธิมนุษยชนหรือประชาธิปไตยอยู่แล้ว ผมพูดถึงนโยบายต่างประ
เทศของไทยเพราะรัฐมนตรีต่่างประเทศของไทยและนโยบายของรัฐบาลไทย ชอบพูดว่าตัวเองเป็น
ประชาธิปไตยและจะยืนหยัดรักษาสิทธิมนุษยชนครับ

ในภูมิภาคเอเชียอาคเณย์นั้น ตามประสบการณ์การทำงานของผม อินโดนีเซียกับมาเลเซียต่างหาก
ครับคืือประเทศที่มีบทบาทในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมากที่สุด สาเหตุมีอยู่สองประการครับ
ประการแรกคือความต่อเนื่องในการทำงานของตัวรัฐมนตรีเอง ไม่ว่าจะเป็นอลาตัสหรือบาดาวี
ซึ่งดำรงตำแหน่งติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ประการที่สองคือการมีนโยบายต่างประเทศที่ชัดเจน
ของสองประเทศนี้ ในเวทีที่ประชุมอาเซียนทุกครั้ง เวลาแถลงข่าวร่วมกัน พูดตรงๆ นะครับว่า
ไม่มีนักข่าวต่างประเทศรายไหนเลยที่จะให้ความสนใจกับเสียงของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย

เสรีไทยไม่ใช่ส่วนหนึ่งในนโยบายต่างประเทศของไทยนะครับ เสรีไทยเป็นผลผลิตจากการต่อสู้ของ
คนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่างประเทศในเวลานั้นต่างหาก การเปิดความสัมพันธ์กับจีนก็ไม่ใช่
แนวคิดของข้าราชการในกระทรวงต่างประเทศนะครับ แต่เป็นผลจากการมองการณ์ไกลของ
ผู้นำการเมืองในเวลานั้นต่างหาก พูดตามตรงนะครับว่า กระทรวงต่างประเทศของไทยมีบทบาท
"น้อย" ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ เพราะนโยบายต่างประเทศในยุคสงครามเย็นนั้น
จะถูกกำหนดจากกองทัพ สภาความมั่นคงแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
มากกว่ากระทรวงฯ อย่าลืมนะครับว่ารัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของไทยในช่วงสิบห้าปีที่ผ่านมานั้น
มีที่มาจากสภาความมั่นคงแห่งชาติถึงสองคน คือคุณสิทธิ เศวตศิลา และคุณประสงค์ สุ่นศิริ

ผมรู้จักรัฐบาลไทยดีพอที่จะเรียกร้องอะไรและไม่เรียกร้องอะไรครับ ผมรู้จักรัฐบาลดีพอที่จะ
ไม่ขอให้รัฐบาลคว่ำบาตร slorc หรืออินโดนีเซีย ผมขอแค่ว่าเราไม่ได้ไปห้ามไปจับกุมใครที่
เขามีความคิดมีกิจกรรมวิพากษ์วิจารณ์ slorc/suharto เท่านั้นเอง

เป็นไปไม่ได้เลยนะครับที่เผด็จการทหาร slorc และผ฿ู้นำอำนาจนิยมอย่าง suharto จะครองอำนาจ
ต่อไปไม่สิ้นสุด จะเกิดอะไรขึ้นครับถ้ารัฐบาลสองรัฐบาลนี้พังลงไปเสื่อมจากอำนาจลงไป แล้วมีผู้นำ
กลุ่มใหม่ขึ้นมามีบทบาทแทน จะเกิดอะไรขึันครับถ้าผู้นำกลุ่มนั้นจำได้ว่าครั้งหนึ่ง ในวันที่ slorc
/suharto เรืองอำนาจ ไทยคือประเทศไทยที่มีบทบาทปกป้องเผด็จการทั้งสองรายอย่างเหนียวแน่นที่สุด




โดยคุณ : สื่อมวลชน - [30 เม.ย. 2541 00:46:07]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่คุณสื่อมวลชน ได้ให้มา สิ่งที่คุณต้องการไม่ได้เกินเลยไป แต่การวิพากษ์วิจารณ์ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าหรืออินโดนีเซีย นั้นผมเห็นว่าเราไม่ควรกระทำ จริงอยู่ครับที่อาเซียนเป็นผลพวงจากการป้องกันภัยจากคอมมิวนิสต์ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน อาเซียนคือขุมกำลังสุดท้ายที่เราจำเป็นต้องสานต่อให้บรรลุผล ถึงแม้ว่าความจริงใจจะหาได้ยากในภูมิภาคนี้ แต่เมื่อมีผลประโยชน์ร่วมกัน มันก็จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังการกระทบกระทั่ง โดยไม่จำเป็น ท่าทีของรัฐบาลไทย อยู่ในฐานะที่ไม่ควรวิพาษ์วิจารณ์หรือสนับสนุนให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ โดยความเห็นส่วนตัว การนิ่งบางครั้งดีกว่าการพูดมากนัก หากพูดไปแล้วไม่มีผลประการใด สหรัฐเองก็พยายามพูดอยู่แล้ว ในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชน เราจะเห็นได้ว่า ไม่มีรัฐบาลของประเทศใดในภูมิภาคอาเซียนออกมาวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของรัฐบาลพม่า หรือ รัฐบาลอินโดนีเซีย การให้ความช่วยเหลือของไทยที่มีต่อผู้ลี้ภัยของชนกลุ่มน้อยในพม่าเอง ก็เป็นที่ทราบกันดีในสหประชาชาติมิใช่หรือครับ
ผมยังคงเห็นว่าไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย ที่รัฐบาลไทย จะวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งเหล่านี้อย่างเป็นทางการ ปัญหาเรื่องชายแดนพม่านั้นผมเชื่อว่า จะมากกว่านี้หากไทยสนับสนุนให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ SLORC และเขตการค้าเสรีอาเซียนจะไม่มีความราบรื่นกว่าที่เป็นหากสนับสนุนให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ Suhato
สำหรับพม่านั้นผมเชื่อว่า เราคงมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อคลี่คลายปัญหาเมื่อเรามีความพร้อม ก่อนหน้าที่จะถึงเวลานั้นเราคงไม่ต้องการให้มีการกระทบกระทั่งกัน โดยไม่จำเป็น
โดยคุณ : cyberwolf_ - [30 เม.ย. 2541 01:18:34]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : ใช่ อาเซียน คือ ขุมกำลังสุดท้าย ของเรา(ยังไงๆก็ต้องมีผลกระทบมาถึงเราเพราะประเทศใกล้กัน)
แล้วไอ้ สิทธิมนุษยชน ผมมองว่า มันเป็นแค่ ข้ออ้างของต่างชาติ ที่มาใช้กับคนแถบนี้มากกว่า
ดังนั้น อย่าไปบ้ากับมันให้มากไป (ผมไม่ได้ว่า สิทธิมนุษยชนไม่ดีแต่ ถ้าพูดไปก็มีแต่ผลเสียมาถึงเรา)
ซึ่งมันคงไม่เกี่ยวกับ นโยบายหลอก
โดยคุณ : ot - [30 เม.ย. 2541 15:25:23]


ความคิดเห็นเพิ่มเติม : ผมไม่คิดว่าสิทธิมนุษยชนเป็นแค่ข้ออ้างนะครับ ในทางตรงกันข้าม ผมกลับเห็นว่าการละเมิด
สิทธิมนุษยชนเป็น "ข้อเท็จจริง" อย่างหนึ่งของสังคมเอเชียเลยทีเดียว การฆ่าหมู่ในติมอร์ตะวัน
ออก การฆ่าหมู่ชาวกะเหรี่ยง ลัวะ และมอญในพม่า ทั้งหมดนี้เป็ฯเรื่องที่เกิดขึ้นจริงทั้งนั้น
ถ้าอาเซียนจะแสดงให้เห็นว่าการรวมตัวของตนมีความหมายอะไรอยู่บ้าง ก็พิสูจน์ให้เห็นสิครับว่า
อาเซียนมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน การสะสมอาวุธ การใช้ความรุนแรง
ปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างไรบ้่าง

ผมไม่คิดว่าการรวมเขตการค้าเสรีจะมีอุปสรรค หากไทยวิจารณ์ซูฮาร์โตนะครับ เพราะในแง่สถิติ
ข้อมูลต่างๆ เท่าที่ผมรู้ การรวมตัวสร้างเขตการค้าเสรีนั้น มาเลเซียกับอินโดจะได้ประโยชน์
สูงกว่่าไทยอย่างมหาศาล มันเป็น trend ที่ซูฮาร์โตไม่เลิกง่ายๆ หรอกครับ
โดยคุณ : สื่อมวลชน - [30 เม.ย. 2541 23:08:14]


ชื่อ/email ของคุณ :
รายละเอียด :